วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วัน/เดือน/ปี   19/ก.ค/2556
ครั้งที่5   เวลาเรียน 13.10-16.40





หลักการและแนวทฤษฏี

แนวการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

 ( Whole Language Approach ) 

       เกิดจากหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ ที่มีชื่อเสียง เช่น ดิวอี้ เปียเจต์ ไวก๊อตสกี้ ฮอลลิเดย์ และ โรเชนแบลดต์ ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กในบริบททางสังคมวัฒนธรรม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็ก ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย หลักการเหล่านี้เมื่อนำมาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษา จะทำให้เด็กมีความสนใจ เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้นเพราะสิ่งที่เรียนมีความหมายและไม่เกิดความรู้สึกว่า การเรียนภาษาเป็นเรื่องยากลำบาก (ภรณี คุรุรัตนะ, 2542 85 )

        จอห์น   ดิวอี้  กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการกระทำ และหลักสูตรควรจะบูรณาการให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
        จัง  เปียเจต์  กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเอง การได้สัมผัสกับสิ่งของภายนอก และเด็กจะคิดสร้างความรู้ขึ้นภายในตน หรืออีกนัยหนึ่งเด็กจะต้องเป็นผู้กระทำ ในการเรียนรู้ การคิดดังนั้น การเรียนจึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นการรับเข้าเฉย 
        
Goodman ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ เชื่อว่า การสอนภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก และโดยที่เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้
      
  Newman   กล่าวไว้ในหนังสือ Whole Language Theoty in Use ว่าการสอนภาษาไทยแนวการสอนแบบธรรมชาติ มีลักษณะเป็นปรัชญา ( Philosophical Stance ) ความคิดของผู้สอนจะก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนำมาประสานกัน
       
 Watson อธิบายว่า ผู้สอนจะประสานแนวการสอนของตนกับองค์ประกอบทางทฤษฏี  ( Thoery ) ความเชื่อ ( Belief ) และการนำความรู้ทางทฤษฏีและความเชื่อไปปฏิบัติจริง ( Practice )องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์สนับสนุนกันเป็นวงจรที่ช่วยให้ผู้สอนเกิดการพัฒนาการสอนด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตเด็กเพื่อทำความเข้าใจในความสามารถ และการแสดงออกของเด็กแต่ละคน บันทึกความก้าวหน้าของเด็กเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กได้อย่างเหมาะสม

การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น


วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วัน/เดือน/ปี   12/ก.ค/2556
ครั้งที่5   เวลาเรียน 13.10-16.40


วันอาจาร์ยให้วาดรูปสิ่งของที่ตัวเองรักที่สุดคนละหนึ่งอย่าง


ฉันวาดรูป ลูกเป็ด 




พอเสร็จแล้วอาจาร์ยก็สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน เรื่อง

องค์ประกอบของภาษา


      Phonology


-    คือระบบเสียง

-    เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
-    หน่อยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา

      Semantic


-   คือความหมายของภาษาและคำศัพท์

-   คำศัพท์บางคำสามารถมีหมายความหมาย
-   ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

       Syntax


-   คือไวยากรณ์

-    การเรียงรูปประโยค

       Pacmatic


-   การนำไปใช้

-   ใช้ให้ถูกต้องตามสถานการณ์ และกาลเทศะ



กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviourism)
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กลุ่มนี้แยกตัวมาจากกลุ่ม Functionalism แนวโน้ม ของกลุ่มนี้เห็นจะเปลี่ยน จากเรื่องจิตมาเป็นเรื่องของพฤติกรรมล้วนๆ โดยเห็นว่าพฤติกรรมที่ปรากฏและ สามารถสังเกตได้เท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรศึกษาในจิตวิทยา
ผู้นำของกลุ่มคือ จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson,1878 - 1958)ที่มีความคิดค้านกับแนวความคิด ของกลุ่มศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วย สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้



 สรุป  การวางเงื่อนไข (conditioning) เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เกิดได้จากการเรียนรู้มากกว่า เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของสัตว์ที่ถูกทดลอง สามารถช่วยให้เราเกิดความเข้าใจ และเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล
              ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

        การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy) ซึ่งหมายถึงปฏิสัมพันธ์ทางสติปัญญาที่มีความซับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างผู้อ่านกับข้อความ และระหว่างความรู้เดิมกับข้อมูลใหม่ และการรู้หนังสือของเด็กปฐมวัยเป็นการรู้หนังสือที่อยู่ในระยะแรกเริ่ม (Emergent literacy) เป็นการเรียนรู้ของเด็กก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การมีทักษะการรู้หนังสืออย่างเป็นทางการ (Sowers, 2000: 140-141; Tompkins, 1997: 365) การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องภาษาและการรู้หนังสือในระยะแรกเริ่ม โดยแผนดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือของเด็ก และมีลักษณะบูรณาการ ให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายเป็นรายบุคคล

การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้

1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ

    1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
    1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
    1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
    1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
    1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
    1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง

2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง

    2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง
    2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
    2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
    2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
    2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค
    2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
    2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์
    2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล
การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งนำเสนอในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ, 2546: 35) โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้

    1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย

        (1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) ซึ่งเด็กควรมีโอกาสฟังตามวิธีนี้ทั้งจากการฟังเพลง กลอน หรือเรื่องราวต่างๆ
        (2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening) เด็กควรมีโอกาสได้ฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟัง
        (3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening) เด็กควรมีโอกาสฟัง และแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจำแนกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของเสียง
        (4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening) เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้เด็กมีการแสดงออกด้วยคำพูด หรือการกระทำอย่างอิสระตามธรรมชาติ
        (5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening) เด็กควรได้ทำความเข้าใจ ประเมิน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ฟัง โดยมีครูเป็นผู้ตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบสนอง

        หากพิจารณาประเภทของการฟังดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กได้มีประสบการณ์สำคัญด้านการฟังอย่างครอบคลุมทุกวิธี เพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักต่อเสียงต่างๆ และนำไปสู่การเข้าใจความหมายของสิ่งที่ได้ยินในที่สุด

    1.2 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย เด็กควรมีประสบการณ์สำคัญด้านการพูด (กรมวิชาการ, 2546: 37; Machado, 1999: 327) ดังนี้

        (1) การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการด้วยคำพูด
        (2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
        (3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
        (4) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น หรือการแก้ปัญหา
        (5) การเชื่อมโยงการพูดกับท่าทาง หรือการกระทำต่างๆ
        (6) การมีประสบการณ์ในการรอคอยจังหวะที่เหมาะสมในการพูด

    1.3 การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ

    1.4 การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย




บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วัน/เดือน/ปี   5/ก.ค/2556
เรียนครั้งที่4  เวลาเรียน 13.10-16.40



วันนี้อาจาร์ยให้แค่ละกลุ่ม ออกมารายงานหน้าชั้น ไปูกันคะว่ามีเรื่องอะไรบ้าง



กลุ่มที่1 ภาษา

ความสำคัญของภาษา
                    บันลือ  พฤกษะวัน   กล่าวว่า ภาษายังเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการถ่ายทอด การเรียนรู้จึงจะสามารถใช้ และ  สื่อความหมายกันได้  ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของภาษาไว้ดังนี้
                   1. มนุษย์สามารถใช้ภาษาในการติดต่อทำความเข้าใจกันได้ กล่าวคือ สามารถใช้ภาษาแสดงความต้องการทางร่างกายและจิตใจด้วย
                    2. มนุษย์ใช้ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต
                    3. ภาษาเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน   โดยเน้นการฝึกฝนที่ถูกวิธีเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในประจำวัน
                    4. ภาษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในสังคม เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารและมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
                5. ภาษามีความสำคัญต่อบุคคลเพราะการที่บุคคลรู้จักใช้ภาษาได้ดีขึ้นย่อมได้รับการยกย่องจากสังคม
                    จะเห็นได้ว่า  ภาษามีความสำคัญกับชีวิตคนเรามาก  เพราะฉะนั้นในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ภาษาได้ดีขึ้น  ครูต้องรู้จักหลักในการจัดประสบการณ์ทางภาษา  ทั้งนี้เพื่อเด็กจะได้เกิดทักษะในการใช้ภาษาที่ดีต่อไป






กลุ่มที่2  แนวคิดทางภาษา


เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 


กลุ่มที่3 พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 2 ปี




การเรียนรู้ 0-1 ขวบ

ทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์
ถ้าหากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ :
ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ :
ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน :
ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน :
ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้น
อายุ 5 เดือน :
ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน :
ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน :
ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้
อายุ 9 เดือน :
ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน :
ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :
ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน :
เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว



การเรียนรู้และการพูด

         การพูดเป็นทักษะด้านสติปัญญาที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะได้เรียนรู้ หากเด็กไม่สามารถสื่อสารได้ การเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ต่อไปก็จะเป็นไปโดยลำบาก หรือมิฉะนั้นอาจถึงกับเป็นไปไม่ได้ การหัดพูดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอด และเด็กก็จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเขาจะต้องสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อความ อยู่รอดของตนเอง
การสื่อสารในช่วงแรกของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นเป็นคำพูดหากแต่เป็นเสียงร้องไห้ การสื่อสารที่มีต่อกันระหว่างแม่ลูกมักเริ่มจากการยิ้ม และในเวลาต่อมาอาจใช้การโครงศีรษะเข้าช่วย คุณอาจสังเกตว่าลูกพยักหน้าให้เมื่อเขาต้องการบอกขอบคุณ เมื่อเด็กโตขึ้นเล็กน้อย เขาอาจไปยืนอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่ต้องการและตะโกนเรียกความสนใจจากคุณ  จากนั้นเขาจะหันไปชี้ของที่อยากได้ บทเรียนขั้นต้นเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าชีวิตเขาจะง่ายขึ้นกว่านี้มาก หากสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ด้วยภาษาที่ทุกคนเข้าใจ และใช้คำพูดแทนการทำกิริยาท่าทาง
เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษา เขาจะได้เรียนรู้เรื่องของสิ่งต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนรอบตัวไปพร้อมๆ กันด้วย บ่อยครั้งที่เด็กพยายามเดาความหมายของคำจากประโยคที่เขาได้ยินโดยรวมและน้ำ เสียงที่ผู้พูดใช้ เวลาเด็กใช้คำเรียกอะไร มักเป็นคำที่เขาต้องการใช้แทนความหมายของคนหรือสิ่งของที่กว้างๆ กว่าที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นมาใช้กัน เช่น เด็กอาจะเรียกผู้ชายทุกคนที่เขาพบว่า “พ่อ” เพราะเด็กรู้จักคำว่าพ่อจากการอยู่กับผู้ชายที่เขารักที่บ้าน
แต่ เด็กยังไม่เข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้ชายคนนี้ เด็กอาจเรียกผลไม้ทุกชนิดที่เจอว่า ม้าม่วง (มะม่วง) เพราะนั่นคือผลไม้ชนิดแรกที่เขารู้จัก อย่างไรก็ดี ในที่สุดเด็กจะสามารถแยกรถยนต์ออกจากรถบรรทุกได้ หรือแยกสุนัขออกจากแมวได้ แม้ว่าตัวจะพอกัน รูปร่างคล้ายกันและมีหางเหมือนกันหากคุณสอนให้เขารู้จักสิ่งเหล่านี้ซ้ำๆ

กลุ่มที่4  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 2-4 ปี



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

         เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 



พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
    -- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

    -- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

    1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
    3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน



กลุ่มที่5  พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี
        
              เด็กวัย 4 -6 ปี มีความมั่นใจในตัวเองมาก เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ฝึกทักษะใหม่ๆ เพราะอยากทำอะไรให้สำเร็จทุกอย่าง ต้องการแสดงความคิดและแสดออกในสิ่งที่คิดซึ่งเต็มไปด้วยจินตนาการ อยู่ในระยะโครงสร้าง (Structure Stage) การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก เด็กจะคอยสังเกตการณ์การใช้ภาษาของคนรอบข้าง และทดลองใช้ด้วยตนเอง
          
          พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปี

บอกชื่่อ นามสกุล และที่อยู่ได้

-  รู้จักเพศของตัวเอง

-  ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น

-  เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้

-  เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้

-  ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน

-  คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้

-  มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน

-  ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน

-  สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้

-  สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก



   การเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมความหมายทางจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ คือกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีสิ่งเร้า และการตอบ สนองทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญา
                ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2543:37) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้อันเกิดจากกระบวนการตอบสนองเมื่อมีการเสนอสิ่งเร้านั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ
 1. แรงขับ (drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียนในบางสิ่งบางอย่างแล้วจูงใจ(motivated) ให้ผู้เรียนหาทางตอบสนองความต้องการนั้น
 2. สิ่งเร้า (stimulus) เมื่อมีสิ่งเร้าผู้เรียนจะได้รับความรู้ (message) หรือการชี้แนะ(cue)
ทันทีทันใดจากสิ่งเร้านั้นก่อนที่จะตอบสนอง
 3. การตอบสนอง (response) หมายถึง การที่ผู้เรียนแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่ง
อธิบายได้ด้วยพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
 4. การเสริมแรง (reinforcement) หมายถึง การให้รางวัล เช่น การชมเชยผู้เรียนในกรณีที่
ผู้เรียนตอบสนองถูกต้อง
จิตวิทยาการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

        พัฒนาการของเด็กวัยต่าง  จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะวัยที่สามารถจำแนกให้เห็นเป็นลักษณะเด่นประจำวัยได้ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นพื้นฐานในการเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นปกติธรรมดาของเด็กวัยนี้
สมพร สุทัศนีย์ (2547:9) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( Preschool Child) ดังต่อไปนี้

1. พัฒนาการทางกาย เด็กวัยนี้นับว่าเป็นเด็กวัยตอนต้นที่มีส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น อย่าง
รวดเร็วแต่จะขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าด้านข้างกล้ามเนื้อและกระดูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น แต่กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยังเจริญไม่เต็มที่การประสานงานของอวัยวะต่าง  ยังไม่ดีพอจากการศึกษาของGesell และคนอื่น  เด็กอายุ 3-5 ขวบ มีพัฒนาการทางกายแตกต่างกัน บางคนสามารถทรงตัวได้ดี วิ่งได้เร็วขึ้น ควบคุมการเดิน วิ่งให้ช้าลงและเร็วได้ กระโดดไกล  ได้ เต้นและกายบริหารได้ตามจังหวะดนตรี การประสานงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น

2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัย 3-5 ขวบ มักจะเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ และจะแสดงอารมณ์
และจะแสดงอารมณ์ต่าง  ออกมาอย่างเปิดเผยและมีอิสระเต็มที่ เด็กวัยนี้มักมีความกลัวอย่างสุดขีดอิจฉาอย่างไม่มีเหตุผล โมโหร้าย การที่เด็กมีอารมณ์เช่นนี้อาจจะเป็นเพราะเด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้นเพราะเงื่อนไขทางสังคมตั้งแต่สังคมภายในบ้านจนกระทั่งถึงสังคมภายนอกบ้านเด็กเคยได้รับแต่ความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ที่ใกล้ชิด เมื่อต้องพบกับคนนอกบ้านซึ่งไม่สามารถเอาใจใส่เด็กได้เท่าคนในบ้านและไม่สามารถที่จะเอาใจใส่ได้เหมือนเมื่อเด็กเล็ก  อยู่เด็กจึงรู้สึกขัดใจเพราะคิดว่าตนเป็นคนที่มีความสามารถกว่าคนอื่น เด็กจะยกย่องบูชาตนเองและพยายามปรับตัวเพื่อต้องการให้เป็นที่รักและเป็นที่ยอมรับของบุคคลข้างเคียงในวัยนี้มักจะใช้คำพูดแสดงอารมณ์ต่างๆ แทนการรุกรานด้วยกำลังกายเพราะพัฒนาการทางร่างกายยังไม่โตเต็มที่ เด็กแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพ การอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่และสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น เด็กที่เติบโตขึ้นจากสภาพแวดล้อมสงบเงียบได้รับความรักเอาใจใส่ และการตอบสนองความต้องการสม่ำเสมอพ่อแม่มีอารมณ์คงเส้นคงวาเด็กก็จะเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคงกว่า เด็กที่มีสภาพ แวดล้อมที่ตรงกันข้าม เหล่านี้เป็นต้น

3. พัฒนาการทางสังคม คำว่าสังคมในที่นี้ หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ การผูกพันและการ
มีชีวิตอยู่ร่วมกัน เด็กปฐมวัยหรือวัยก่อนเข้าเรียนได้เรียนรู้เข้าใจ และใช้ภาษาได้ดีขึ้นพ่อแม่และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตลอดจนครูที่อยู่ในชั้นอนุบาลได้อบรมสั่งสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจถึงวัฒนธรรมค่านิยมและศีลธรรมทีละน้อย โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่าย เช่น การพูดจาสุภาพ การเคารพกราบไหว้ ฯลฯ เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นเมื่อเด็กเข้าไปอยู่ในโรงเรียนอนุบาลจะรู้จักคบเพื่อนรู้จักการผ่อนปรน รู้จักอดทนในบางโอกาส รู้จักการให้และการรับ Piaget นักจิตวิทยากลุ่มที่เน้นความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) กล่าวว่า เด็ก 3-5 ขวบ เรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมจากเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลหรือเพื่อนบ้านวัยเดียวกันแต่เด็กวัยนี้ยังเข้าใจถึงความถูกต้องและความไม่ลึกซึ้งนักดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เด็กวัยนี้ได้พัฒนาในเรื่องการยอมรับการแยกตัวจากพ่อแม่ฝึกให้มีความเชื่อมั่นเมื่ออยู่กับคนอื่นให้เด็กเข้าใจระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง  ฝึกให้รู้จักการแบ่งปันและการผลัดเปลี่ยนกันและรู้จักอดใจรอในโอกาสอันควร

4. พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้มีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างดีเด็กจะเรียนรู้
ศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยเด็กอายุ 3 ขวบ จะรู้จักศัพท์ประมาณ 3,000 คำ และเด็กสามารถใช้คำ วลี และประโยคในการแสดงบทบาทตามแบบอย่างโทรทัศน์ได้ รู้จักใช้ท่าทางประกอบคำพูดเด็ก 4 ขวบช่างซักช่างถามมักจะมีคำถามว่า “ทำไม” “อย่างไร” แต่ก็ไม่สนใจคำตอบและคำอธิบายคำพูดของเด็กวัยนี้สามารถพูดประโยคยาว  ที่ต่อเนื่องกันได้ สามารถ เล่านิทานสั้นๆ ให้จบได้และมักจะเอาเรื่องจริงปนกับเรื่องสมมติ สำหรับเด็กวัย 5 ขวบ พัฒนาการทางภาษาสูงมากเด็กสามารถตอบคำถามตรงเป้าหมาย ชัดเจนและสั้น การซักถามน้อยลง แต่จะสนใจเฉพาะเรื่องไป ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสพูดให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย และควรหมุนเวียนกันออกมาพูดทุกคนการจินตนาการและการสร้างเรื่องจะพบมากในเด็กวัยนี้ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่ควรจะได้สนับสนุนและส่งเสริมจินตนาการของเด็กให้มากที่สุดแต่เด็กวัยนี้ไม่มีพัฒนาการที่เกี่ยวกับการจัดประเภทของสิ่งของเป็นหมวดหมู่ ไม่มีพัฒนาการในเรื่องความคงตัว ในเรื่องขนาดน้ำหนักและปริมาตรทั้งนี้เป็นเพราะเด็กยังไม่มีความเข้าใจ ยังไม่มีเหตุผลและประเมินค่าสิ่งต่าง ๆตามที่เห็นด้วยตาเท่านั้นจะเห็นได้ว่าเด็กก่อนวัยเรียนนี้มีพัฒนาการทางร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตภาวะอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และสังคมรอบด้านเริ่มมีสังคมมีการเรียนรู้สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำฝึกการเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับและมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีอยู่ในวัยที่อยากรู้ อยากเห็นอยากทำ เรียนรู้เร็วเป็นแนวทางที่ครูผู้สอนควรจะสังเกต และเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กก่อนจะดำเนินการสอนและให้ความรู้ต่าง  กับเด็กก่อนวัยเรียนเหล่านี้





กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

          การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

              ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 
           เพียเจท์ (Piaget) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการและเนื้อหาของการเล่นที่
ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทาง
สติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน    การเล่นของเด็กจะเริ่มจากการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นการสำรวจจับต้องวัตถุ นับว่าเป็นการฝึกเล่นและพัฒนาการเล่นควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นขั้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 16) 

           เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ            
1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า  ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2 – 7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย  ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
        2.1    ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน  เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น
       2.2   ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด 
เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด  การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา  และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน  เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation)  เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป  เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 – 11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป            

4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้  


กลุ่มที่ 8  ยังไม่ไ้นำเสนอ



กลุ่มที่9 องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา





องค์ประกอบของภาษา ภาษามีองค์ประกอบ ๔ เรื่อง คือ

๑. เสียง เกิดจากการเปล่งเสียงแทนพยางค์ และคำ

๒. พยางค์และคำ เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
๓. ประโยค เกิดจากการนำ คำ มาเรียงกันตามลักษณะ โครงสร้างของภาษาที่กำ หนด
เป็นกฎเกณฑ์หรือเป็นระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษา
๔. ความหมาย คือ ความหมายที่เกิดจากคำหรือประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสารทำความเข้าใจกัน
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระโหราธิบดี
ได้แต่งตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก ชื่อ จินดามณี ขึ้น ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยกระทรวงธรรมการได้พิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยย่อจากตำราสยามไวยากรณ์ จนถึง พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสาร
ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์แต่งตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทย
ที่สมบูรณ์และเป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน




กลุ่มที่10   หลักการจัดประสบการณ์ (  ภาษาธรรมชาติ  )
          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

        การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น (ฉันทนา ภาคบงกช, ม.ป.ป. )
        จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้

        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน

        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว

        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้