วัน/เดือน/ปี 12/ก.ค/2556
ครั้งที่5 เวลาเรียน 13.10-16.40
วันอาจาร์ยให้วาดรูปสิ่งของที่ตัวเองรักที่สุดคนละหนึ่งอย่าง
ฉันวาดรูป ลูกเป็ด
พอเสร็จแล้วอาจาร์ยก็สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน เรื่อง
องค์ประกอบของภาษา
Phonology
- คือระบบเสียง
- เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่อยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีหมายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
Syntax
- คือไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค
Pacmatic
- การนำไปใช้
- ใช้ให้ถูกต้องตามสถานการณ์ และกาลเทศะ
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviourism)
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism) กลุ่มนี้แยกตัวมาจากกลุ่ม Functionalism แนวโน้ม
ของกลุ่มนี้เห็นจะเปลี่ยน จากเรื่องจิตมาเป็นเรื่องของพฤติกรรมล้วนๆ
โดยเห็นว่าพฤติกรรมที่ปรากฏและ สามารถสังเกตได้เท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ
ที่ควรศึกษาในจิตวิทยา
ผู้นำของกลุ่มคือ
จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson,1878 - 1958)ที่มีความคิดค้านกับแนวความคิด
ของกลุ่มศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วย สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ
พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ
พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า
และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้
ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy) ซึ่งหมายถึงปฏิสัมพันธ์ทางสติปัญญาที่มีความซับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างผู้อ่านกับข้อความ และระหว่างความรู้เดิมกับข้อมูลใหม่ และการรู้หนังสือของเด็กปฐมวัยเป็นการรู้หนังสือที่อยู่ในระยะแรกเริ่ม (Emergent literacy) เป็นการเรียนรู้ของเด็กก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การมีทักษะการรู้หนังสืออย่างเป็นทางการ (Sowers, 2000: 140-141; Tompkins, 1997: 365) การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องภาษาและการรู้หนังสือในระยะแรกเริ่ม โดยแผนดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือของเด็ก และมีลักษณะบูรณาการ ให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายเป็นรายบุคคล
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง
2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง
2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง
2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค
2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์
2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง
2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง
2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง
2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค
2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์
2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล
การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งนำเสนอในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ, 2546: 35) โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย
(1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) ซึ่งเด็กควรมีโอกาสฟังตามวิธีนี้ทั้งจากการฟังเพลง กลอน หรือเรื่องราวต่างๆ
(2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening) เด็กควรมีโอกาสได้ฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟัง
(3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening) เด็กควรมีโอกาสฟัง และแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจำแนกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของเสียง
(4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening) เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้เด็กมีการแสดงออกด้วยคำพูด หรือการกระทำอย่างอิสระตามธรรมชาติ
(5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening) เด็กควรได้ทำความเข้าใจ ประเมิน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ฟัง โดยมีครูเป็นผู้ตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบสนอง
หากพิจารณาประเภทของการฟังดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กได้มีประสบการณ์สำคัญด้านการฟังอย่างครอบคลุมทุกวิธี เพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักต่อเสียงต่างๆ และนำไปสู่การเข้าใจความหมายของสิ่งที่ได้ยินในที่สุด
1.2 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย เด็กควรมีประสบการณ์สำคัญด้านการพูด (กรมวิชาการ, 2546: 37; Machado, 1999: 327) ดังนี้
(1) การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการด้วยคำพูด
(2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
(4) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น หรือการแก้ปัญหา
(5) การเชื่อมโยงการพูดกับท่าทาง หรือการกระทำต่างๆ
(6) การมีประสบการณ์ในการรอคอยจังหวะที่เหมาะสมในการพูด
1.3 การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ
1.4 การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย
สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งนำเสนอในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ, 2546: 35) โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย
(1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) ซึ่งเด็กควรมีโอกาสฟังตามวิธีนี้ทั้งจากการฟังเพลง กลอน หรือเรื่องราวต่างๆ
(2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening) เด็กควรมีโอกาสได้ฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟัง
(3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening) เด็กควรมีโอกาสฟัง และแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจำแนกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของเสียง
(4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening) เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้เด็กมีการแสดงออกด้วยคำพูด หรือการกระทำอย่างอิสระตามธรรมชาติ
(5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening) เด็กควรได้ทำความเข้าใจ ประเมิน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ฟัง โดยมีครูเป็นผู้ตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบสนอง
หากพิจารณาประเภทของการฟังดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กได้มีประสบการณ์สำคัญด้านการฟังอย่างครอบคลุมทุกวิธี เพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักต่อเสียงต่างๆ และนำไปสู่การเข้าใจความหมายของสิ่งที่ได้ยินในที่สุด
1.2 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย เด็กควรมีประสบการณ์สำคัญด้านการพูด (กรมวิชาการ, 2546: 37; Machado, 1999: 327) ดังนี้
(1) การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการด้วยคำพูด
(2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
(4) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น หรือการแก้ปัญหา
(5) การเชื่อมโยงการพูดกับท่าทาง หรือการกระทำต่างๆ
(6) การมีประสบการณ์ในการรอคอยจังหวะที่เหมาะสมในการพูด
1.3 การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ
1.4 การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น